เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 4. รถวินีตสูตร

ถ้าทรงบัญญัติทิฏฐิวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่
ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติกังขาวิตรณวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติ
ธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึง
บัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ท่านผู้มีอายุ ถ้าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
ปุถุชนก็จะพึงปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนเว้นจากธรรมเหล่านี้ ผมจะเปรียบเทียบ
ให้ท่านฟัง คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วย
อุปมาโวหาร

เปรียบเทียบวิสุทธิด้วยรถ 7 ผลัด

[259] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังประทับอยู่ที่
กรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียกิจด่วนบางประการเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต และใน
ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องต่อรถถึงเจ็ดผลัด
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัด
ที่หนึ่ง ที่ประตูพระราชวัง เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่ 3
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่สี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :281 }